พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ที่ถนนหลังศูนย์ราชการ ตำบลในเมือง เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2510 เพื่อเป็นสถานที่รวบรวม สงวนรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ต่อมา พ.ศ. 2511 – 2512 ได้รับงบประมาณจัดซื้อครุภัณฑ์และก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2515 ดำเนินการจัดแสดงแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2515
ต่อมา พ.ศ. 2535 กรมศิลปากรมีนโยบายที่จะพัฒนาและปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น จึงนับเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญอีกแห่งหนึ่งในท้องถิ่นสำหรับผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมให้ยังคงอยู่ต่อไป




























โซนการจัดแสดงที่สำคัญ

ส่วนที่ 1 อาคารจัดแสดงส่วนหน้า
ชั้นล่างและชั้นบน จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดแสดงหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงเรื่องราวและพัฒนาการทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐาน ประเพณี สังคม ศาสนา การรับอิทธิพลทางศิลปะ พัฒนาการของเมืองและชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนพัฒนาการทางศิลปะในประเทศไทย

ส่วนที่ 2 อาคารจัดแสดงส่วนหลัง
จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประเภทใบเสมาและประติมากรรมศิลา ตลอดจนแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณี วิถีชีวิต ความเชื่อ เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านที่แสดงถึงภูมิปัญญาของกลุ่มชนใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ
จารึกวัดดอนแก้ว by VR Siam on Sketchfab
ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพพระพุทธประวัติ ตอน พิมพาพิลาป
ศิลาจารึกอักษรปัลลวะ ภาษามอญ แบบศิลปะทวาราวดี พุทธศตวรรษที่ 12-14 ค้นพบที่เมืองโบราณดอนแก้ว วัดพระธาตุดอนแก้ว บ้านดอนแก้ว ต.ตูมใต้ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานีใบเสมาดังกล่าวอยู่ในสภาพชำรุดและมีร่องรอยขูดขีด ซึ่งเป็นอุปสรรคในการอ่าน สามารถอ่านได้ข้อความว่า
(นี้เป็น)บุญ(ของ) … ศิลา(จารึก)นี้ เขากับฉัน …การกระทำ …. ด้วยมีด ….ไม่มีพระองค์อื่นที่ เหมือนพระองค์นี้เลย เขาและฉัน ฉันมีชื่อว่า…
ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพพระพุทธประวัติ ตอน พิมพาพิลาป
ขุดค้นพบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ แบบศิลปะทวารวดี สลักจากหินทราย ราวพุทธศตวรรษที่ 14 – 16 มีขนาดกว้าง 84 สูง 174 หนา 25 เซนติเมตร
ลักษณะเป็นใบเสมาแผ่นหินแบน สภาพชำรุดหักเป็นสองท่อนต่อไว้ ด้านบนสลักเป็นรูปทรงโค้งแบบกลีบบัว สลักภาพเล่าเรื่องไว้ที่ด้านหน้าเพียงด้านเดียว โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือด้านล่างของใบเสมาจำหลักเป็นภาพกำแพงเมือง มีซุ้มประตูทรงปราสาทซ้อนกัน 3 ชั้น ด้านข้างประตูทั้งสองมีภาพบุรุษถืออาวุธประจำอยู่ ด้านละ 2 คน ด้านบนของใบเสมาจำหลักเป็นภาพบุคคลประทับนั่งห้อยพระบาท อยู่ภายในซุ้มอาคารเครื่องไม้ มีประภามณฑล อยู่ด้านหลังพระเศียร สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธเจ้า ด้านขวามีบุรุษนั่งชันเข่าแสดงท่าสำรวม จำนวน 2 คน ด้านซ้ายเป็นภาพสตรี 2 คน สตรีคนที่นั่งอยู่ใกล้พระพุทธเจ้า นั่งพับเพียบกำลังสยายผมเช็ดพระบาทของพระพุทธองค์ สตรีนางหนึ่งอุ้มเด็กที่กำลังชี้นิ้วไปที่พระพุทธองค์ สันนิษฐานว่าเป็นพระราหุล
ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพพระพุทธเจ้าทรงโปรดพระเจ้าพิมพิสาร
ขุดค้นพบที่เนินดินบริเวณโรงเรียนฟ้าแดดสูงยางวิทยาคม บ้านหนองแปน ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ แบบศิลปะทวารวดี สลักจากหินทราย ราวพุทธศตวรรษที่ 14 – 16 มีขนาดความกว้าง 74 สูง 156 หนา 24 เซนติเมตร
ลักษณะเป็นใบเสมาแผ่นหินแบน สภาพสมบูรณ์ ด้านบนสลักเป็นรูปทรงโค้งคล้ายกลีบบัว ยอดสอบแหลม บริเวณฐานสลักเป็นลายกลีบบัวคว่ำ กลีบบัวหงายและเกสรบัวตลอดแนวความกว้างของใบเสมา สลักภาพเล่าเรื่องไว้ที่ด้านหน้าเพียงด้านเดียว องค์ประกอบของภาพประกอบด้วย กลุ่มบุคคล 4 คน
ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพพระพุทธประวัติ ตอน พิมพาพิลาป
ประติมากรรมรูปบุรุษยืนส่วนพระบาทแตกหักออกจากส่วนของพระชงฆ์ พระกรหักหายไปทั้ง 2 ข้าง มีลักษณะเป็นเหลี่ยมกลางพระนลาฏสลักคล้ายพระเนตรที่ 3
เมื่อพิจารณาลักษณะของประติมานวิทยาที่มีการสลักคล้ายพระเนตรที่ 3 อยู่กลางพระนลาฏจึงสันนิษฐานว่า ปฏิมากรรมองค์นี้อาจเป็นประติมากรรมรูปพระศิวะมหาเทพในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ที่มีลักษณะพิเศษคือมีพระเนตรที่ 3 อยู่กลางพระนลาฏ แต่มีนักวิชาการบางท่านได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าปฏิมากรรมองค์นี้น่าจะเป็นทวาราบานนนทิเกศวรที่มักพบคู่กับทวาราบานนามว่ามหากาฬเนื่องจากบริเวณฐานมีร่องรอยของการถือคฑา ประติมากรรมรูปบุรุษนี้มีลักษณะคล้ายปฏิมากรรมรูปทวาราบานพบที่บ้านโคกสูงจังหวัดสระแก้วซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี
ใบเสมาหินทรายสันนิษฐานว่าจำหลักภาพชาดก เรื่อง กุลาวกะชาดก
ขุดค้นพบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ แบบศิลปะทวารวดี สลักจากหินทราย ราวพุทธศตวรรษที่ 14 – 16
มีขนาดกว้าง 92 สูง 83 หนา 24 เซนติเมตร
ลักษณะเป็นใบเสมาแผ่นหินแบน สภาพชำรุดเหลือเพียงส่วนบนหรือส่วนยอด
ด้านบนสลักเป็นรูปทรงโค้งแบบกลีบบัว สลักภาพเล่าเรื่องไว้ที่ด้านหน้าเพียงด้านเดียว จากสภาพที่เหลืออยู่ปรากฏร่องรอยของภาพบุคคล 4 คน และสัตว์ 2 ชนิด ด้านซ้ายเป็นภาพสลักเป็นภาพช้างสวมเครื่องประดับที่ศีรษะและคอ ถัดมาตอนกลางของภาพสลักภาพบุคคลประธานเป็นรูปบุรุษ ด้านขวามือเป็นภาพสตรี 3 คน สตรีที่อยู่ใกล้ประธานของภาพมีนกเกาะอยู่บนมือขวา ด้านหลังสลักเป็นภาพต้นไม้
ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพพระพุทธเจ้าทรงพบพญานาคมุจลินทร์
ขุดค้นพบที่เนินดินบริเวณโรงเรียนฟ้าแดดสูงยางวิทยาคม บ้านหนองแปน ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ แบบศิลปะทวารวดี สลักจากหินทราย
ราวพุทธศตวรรษที่ 14 – 16 มีขนาดความกว้าง 84 สูง 174 หนา 25 เซนติเมตร
ลักษณะเป็นใบเสมาแผ่นหินแบน ด้านบนรูปทรงโค้งคล้ายกลีบบัว ส่วนฐานสลักเป็นลายกลีบบัวหงายและเกสรบัวเรียงตามแนวกว้างของใบเสมา แกนเดือยหินที่ส่วนล่างสุดชำรุดหักหายไป ด้านหน้าของใบเสมาสลักภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งขัดสมาธิหลวมๆ บนขนดนาค 4 ชิ้น ด้านบนสุดสลักเป็นภาพเศียรนาค 5 เศียร แผ่พังพานอยู่เหนือประภามณฑลของพระพุทธองค์ เหนือเศียรนาคสลักเป็นรูปต้นไม้ในกรอบรูปทรงสามเหลี่ยม
พระยมทรงกระบือ by VR Siam on Sketchfab
พระยมทรงกระบือ
ขุดค้นพบที่โบราณสถานกู่พันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร แบบศิลปะลพบุรี สลักจากหินทราย ราวพุทธศตวรรษที่ 18 มีขนาดความกว้าง 13 สูง 36 ยาว 31 เซนติเมตร
ประติมากรรมหินทรายรูปพระยมทรงกระบือเทพรักษาทิศเบื้องล่าง ,ีสภาพแตกเป็น 3 ชิ้นต่อไว้ บริเวณจมูกไปถึงด้านหลังชำรุด ทรงประทับนั่งบนหลังเทพพาหนะคือกระบือ สวมศิราภรณ์ทรงมงกุฎ มีกระบังหน้า สวมกุณฑล พาหุรัด และเครื่องประดับอื่นๆ พระหัตถ์ทั้งสองข้างหักหายไป ตัวกระบือ(ควาย)สลักเป็นรูปสัตว์สี่เท้า มีเขา มีหู มีหาง รอบคอตกแต่งด้วยเครื่องประดับ โดยรอบ มีลวดลายสลักคล้ายเชือก สภาพชำรุดขาหักทั้ง 4 ข้าง หูขวาแตก
พระวัชรธร
ขุดค้นพบที่กู่แก้ว อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ศิลปะลพบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ 18
พระวัชรธรประติมากรรมลอยตัวสลักเป็นรูปบุรุษนั่งขัดสมาธิราบบนฐานกลีบบัว
อยู่ในวชิรภูมิการ ซึ่งเป็นหมู่ของพระพุทธเจ้าสูงสุดในคติพุทธตันตระ คือพระอาทิพุทธหรือพระวัชรธร ประธานของพระพุทธเจ้าผู้ให้กำเนิดพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นซ้อนกันในระดับพระอุระ ทรงถือวัตถุทั้งสองข้าง โดยหันด้านที่มีลักษณะคล้ายกลีบบัวออกมา ด้านหน้าสวมกุณฑล สวมศิราภรณ์คล้ายมงกุฎ มวยพระเกศาทรงกรวยแหลมรูปกลีบบัวซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆ ด้านล่างของรูปเคารพมีเดือยเป็นแกนเพื่อตั้งลงในช่องกลางฐาน รูปเคารพวัชรธรพบที่กู่แก้วมีลักษณะทางศิลปกรรมคล้ายคลึงกับพระวัชรธรที่พบจากกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคามมาก แสดงถึงความสัมพันธ์กันทั้งในด้านอายุสมัยและรูปแบบศิลปะที่สร้างขึ้นในรูปแบบศิลปกรรมลพบุรีที่เจริญขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18
เศียรพระพุทธรูป
ขุดค้นพบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ แบบศิลปะทวารวดี ใช้เทคนิคปูนปั้น ราวพุทธศตวรรษที่ 14 – 16 ขนาด 12 เซนติเมตร
ลักษณะเศียรพระพุทธรูปปูนปั้นที่ส่วนของพระพักตร์ พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรโปน ริมฝีปากหนา เม็ดพระศกใหญ่ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะแบบทวารวดี
สมุดกิจกรรมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
สมุดกิจกรรมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น:
โครงการการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้เสมือนจริงพิพิธภัณฑ์ไทย
ได้รับทุนสนับสนุน: กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ดำเนินโครงการโดย: อาจารย์ ดร.สุชาติ แสนพิช
ผศ.ดร.พัฒนา ศิริกุลพิพัฒน์
ผศ.ดร.พิสิษฐ์ ณัฏประเสริฐ
สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช